การตรวจเพื่อการวินิจฉัย
- ตรวจ 12-lead ECG ในผู้ป่วยที่มีประวัติเจ็บหน้าอก หรือในขณะที่มีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งสงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- ตรวจ ambulatory ECG monitoring ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับสงสัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ใช้ functional imaging (stress echo, stress MRI, SPECT, PET) หรือ coronary CTA ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก และ clinical assessment เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้
- การเลือกใช้ diagnostic test ให้ประเมินจาก clinical likelihood ของ CAD ร่วมกับลักษณะของผู้ป่วย และการเข้าถึงการตรวจ/ ความเชี่ยวชาญในการแปลผลของสถานพยาบาลนั้น
- เลือกใช้ functional imaging เพื่อประเมิน myocardial ischemia ถ้า coronary CTA ให้ผลคลุมเครือ หรือไม่สามารถแปลผลได้
- ตรวจ coronary angiography (CAG) เพื่อวินิจฉัย CAD ในผู้ป่วยที่มี high clinical likelihood, มีอาการรุนแรงไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา, มีอาการของ typical angina แม้ออกแรงไม่มาก หรือประเมินทางคลินิกแล้วผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง
- ใช้ exercise ECG ในการประเมินอาการ, exercise tolerance, blood pressure response, arrhythmia และความเสี่ยงในการเกิด CV event ในผู้ป่วยบางราย ถ้าข้อมูลที่ได้ มีผลต่อการตัดสินการรักษา
* ไม่แนะนําให้ใช้ coronary CTA ในผู้ป่วยที่มี extensive coronary calcification, irregular HR, อ้วนมาก, ไม่ร่วมมือในการตรวจ หรือคาดว่าคุณภาพของภาพจะไม่ดี
* ไม่แนะนําให้ใช้ exercise ECG เพื่อการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มี ST-segment depression ในขณะพักที่เท่ากับหรือมากกว่า 0.1 mV หรือผู้ป่วยได้รับ digitalis
การตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาและพยากรณ์โรค
- พิจารณาตรวจ echocardiography หลัง revascularization 1-3 เดือนในผู้ป่วยที่มี LV systolic dysfunction
* ไม่แนะนำให้ตรวจ coronary CTA, stress imaging หรือ CAG ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ
* ไม่แนะนำให้ตรวจ coronary CTA, stress imaging หรือ CAG ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ