prdmsc@dmsc.mail.go.th  0-2589-9850 
<< ย้อนกลับ

การตรวจเพื่อการคัดกรอง

การตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา - การควบคุมระดับน้ำตาล

      - Venous plasma glucose

         ทุกครั้งที่มาติดตามการรักษา (4-6 ครั้งต่อปี) และทุกครั้งที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน

      - Point-of-care capillary blood glucose (fasting หรือ random หรือ post-prandial)

         ขณะเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ตรวจวันละ 2-7 ครั้ง สำหรับปรับขนาดยาอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย

      - HbA1c ส่งตรวจปีละ 2-4 ครั้ง (การตรวจปีละ 2 ครั้ง อาจมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากส่งตรวจปีละ 4 ครั้ง แต่ผู้ป่วยบางคนอาจจำเป็นต้องเจาะบ่อย เช่น ผู้ป่วย type 1 DM, หรือผู้ป่วยที่มีกาiเปลี่ยนแปลงการรักษา)

      - Urine หรือ serum ketone  เฉพาะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือด 250 mg/dl หรือมากกว่า โดยอาจมีหรือไม่มีอาการผิดปกติ หรือในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามี Diabetes Ketoacidosis (DKA)

        * ไม่ควรตรวจ HbA1c ในภาวะต่อไปนี้ 

        * ผู้ป่วยโรคเลือดที่มีอายุของเม็ดเลือดแดงเปลี่ยนไป เช่น Hemoglobinopathies, Hemolytic anemia (เม็ดเลือดแดงอายุสั้น) เนื่องจากค่า HbA1c ที่วัดได้ต่ำกว่าที่เป็นจริง ควรเลี่ยงไปใช้การทดสอบอื่น เช่น Glycated albumin

        * Iron deficiency anemia เพราะอาจมีค่า HbA1c สูงกว่าที่เป็นจริง

        * หลังการบริจาคเลือด การรับถ่ายเลือด ภายใน 2 เดือน