กรณีผู้ตรวจร่างกายไม่เข้าข่ายโรคมะเร็ง Non Cancerous
Complete blood count (CBC)
• 18-60 ปี ตรวจ 1 ครั้ง
• >60 ปี ทุก 1 ปี
Urine analysis
• 18-60 ปี ไม่ตรวจ
• >60 ปี ทุก 1 ปี
Fasting plasma Glucose (FPG)
• ≥35 ปี ทุก 3 ปี
• >60 ปี ทุก 1 ปี
• ผู้ที่อ้วนและมี พ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง เป็นโรคเบาหวาน ทุก 3 ปี
(อ้วน หมายถึง BMI ≥25 kg/m2 และ/หรือ รอบเอวเท่ากับหรือมากกว่า 90 cm ในผู้ชาย หรือ เท่ากับหรือมากกว่า 80 cm ในผู้หญิง หรือมากกว่าส่วนสูงหารด้วย 2 ทั้งสองเพศ)
• Prediabetes ทุก 1 ปี
(มี HbA1c ≥5.7% หรือ impaired glucose tolerance (IGT) หรือ impaired fasting glucose (IFG))
Creatinine
• > 35 ปี ทุก 1 ปี
* ไม่แนะนำให้ส่งตรวจ Blood Urea Nitrogen (BUN)
** ไม่แนะนำให้ส่งตรวจ Uric acid
Total cholesterol +Triglycerides + HDL-C +calculated LDL-C
• ≥20 ปี ทุก 5 ปี
Chest X ray (CXR)
• เฉพาะผู้สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรค ผู้ต้องขัง บุคลากรในเรือนจำ ในโรงพยาบาล ผู้อาศัยในชุมชนแออัด ค่ายทหาร ค่ายอพยพ สถานพินิจ หรือสถานสงเคราะห์ คนเร่ร่อนไร้ที่อยู่
* ไม่แนะนำให้ส่งตรวจ EKG
Routine stool examination
• เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีอุบัติการณ์สูงที่สุดในโลก (85 ต่อ 100,000 ประชากรต่อปี)
Aspartate aminotransferase (AST), Alanine aminotransferase (ALT)
• ≥18 ปี ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ตรวจครั้งเดียว
• กรณีมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ ควรตรวจปีละ 1 ครั้ง
- ผู้ที่มีโรคอ้วนหรือภาวะอ้วนลงพุง
- ผู้ที่มีประวัติดื่มสุราเป็นประจำ (ปริมาณ 30 g/day ในเพศชาย, 20 g/day ในเพศหญิง)
* ไม่แนะนำให้ส่งตรวจ Alkaline phosphatase (ALP)
HBsAg
• 19-65 ปี ตรวจ 1 ครั้ง เฉพาะคนที่เกิดก่อน พ.ศ.2535
• ควรตรวจทุกรายที่มีผลเลือดค่า ALT หรือ AST สูงผิดปกติ
ถ้าผลปกติและยังไม่ได้รับวัคซีน แนะนำให้รับวัคซีนตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย คือ อายุ 18-65 ปี หรือ ไม่มีม้าม หัวใจวาย ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไตวายเรื้อรัง ตับวาย ติดเชื้อเอชไอวี รับยากดภูมิคุ้มกัน โดยควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีดวัคซีน
Anti HCV
• 40 ปี ที่ไม่มีความเสี่ยง ตรวจ 1 ครั้ง
• ควรตรวจทุกรายที่มีผลเลือดค่า ALT หรือ AST สูงผิดปกติ
• ควรตรวจพนักงานบริการทางเพศ, ผู้ที่มีประวัติใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น, ผู้ต้องขังหรือผู้เคยมีประวัติต้องขัง, ผู้ที่เคยสักผิวหนัง เจาะผิวหนังหรืออวัยวะต่าง ๆ ในสถานประกอบการที่ไม่ใช่สถานพยาบาล, ผู้ที่เป็นคู่สมรส หรือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน, ผู้ที่เคยรับการรักษาจากผู้ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น ฉีดยา ทำฟัน หรือหัตถการอื่นๆ โดยสามารถตรวจซ้ำได้กรณีมีความเสี่ยงใหม่เพิ่มเติม
Bone Mineral Density (BMD) ที่ lumbar spine ร่วมกับ hip
• ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
• ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไปและผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
• ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี หรือผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี ที่มีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
- มีบิดาหรือมารดากระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
- ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 kg/m2
- ส่วนสูงลดลงตั้งแต่ 4 cm ขึ้นไป เมื่อเทียบกับประวัติส่วนสูงสูงสุดของผู้ป่วย หรือตั้งแต่ 2 cm ขึ้นไปจากบันทึกการวัดส่วนสูง 2 ครั้ง
- มีประวัติกระดูกหักจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
ถ้าปกติให้ตรวจซ้ำทุก 5 ปี