กรณีผู้ตรวจร่างกายเข้าข่ายโรคมะเร็ง Cancer
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง
* ไม่แนะนำให้ส่งตรวจ PSA,AFP,CA19-9,CA-125
มะเร็งปากมดลูก
- การตรวจแปปสเมียร์ (pap smear)
• เริ่มที่อายุ 25 ปี หากมีเพศสัมพันธ์
• เริ่มที่อายุ 30 ปี หากไม่มีเพศสัมพันธ์
• ตรวจทุก 2 ปีจนถึงอายุ 65 ปี ถ้าผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 5 ครั้ง
หรือ
- การตรวจ HPV testing เบื้องต้นอย่างเดียว (primary HPV testing)
• เริ่มที่อายุ 25 ปี หากมีเพศสัมพันธ์
• เริ่มที่อายุ 30 ปี หากไม่มีเพศสัมพันธ์
• ตรวจทุก 5 ปี จนถึงอายุ 65 ปี ถ้าผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 2 ครั้ง
หรือ
- การตรวจหาเชื้อไวรัส เอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง ร่วมกับการตรวจแปปสเมียร์, co-testing (hrHPV testing + pap smear)
• เริ่มที่อายุ 25 ปี หากมีเพศสัมพันธ์
• เริ่มที่อายุ 30 ปี หากไม่มีเพศสัมพันธ์
• ตรวจทุก 5 ปี จนถึงอายุ 65 ปีถ้าผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 2 ครั้ง
* ไม่แนะนำให้ส่งตรวจ วีไอเอ (VIA)
มะเร็งเต้านม
- การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
• อายุ 20 ปีขึ้นไป ทุก 1 เดือน
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม (clinical breast examination)
• อายุ 20-39 ปี ทุก 1-3 ปี
• อายุ 40 ปีขึ้นไป ทุก 1 ปี
- การเอกซเรย์เต้านม (mammography) ร่วมกับการทำอัลตราซาวนด์เต้านม
• อายุ 40-69 ปี ทุก 1-2 ปี
มะเร็งลำไส้ใหญ่
- การตรวจหาเลือดออกแฝงในอุจจาระโดยวิธี immunochemistry (iFOBT) 1 ตัวอย่าง
• ทุก 1 ปี
หรือ
- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
• ทุก 10 ปี
หรือ
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (CT colonography)
• ทุก 5 ปี • ไม่แนะนำให้ส่งตรวจ CEA
* ไม่แนะนำให้ส่งตรวจ CEA
มะเร็งปอด
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดแบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low-dose CT Chest)
• ผู้มีอายุ 50-80 ปี มีพฤติกรรมสูบบุหรี่อย่างน้อย 20 pack-year และยังสูบอยู่ หรือ เลิกบุหรี่ไปแล้ว ระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี ทุก 1 ปี
* ไม่แนะนำให้ส่งตรวจเอกซเรย์ปอด (CXR)
มะเร็งต่อมลูกหมาก
- Digital Rectal Examination
• ชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป ปีละ 1 ครั้ง
เอกสารอ้างอิง
1. The Royal Thai College of the Obstetricians and Gynecologists 2021
2. The Royal College of Pathologists of Thailand 2023
3. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2555
4. AAFP, American Academy of Family Physicians; USPSTF, the United States Preventive Services Task Force