prdmsc@dmsc.mail.go.th  0-2589-9850 
<< ย้อนกลับ

Dengue

การตรวจเพื่อการวินิจฉัย

   ควรตรวจในผู้ป่วยที่น่าจะเป็นโรคติดเชื้อเดงกี่ คือ มีไข้เฉียบพลัน ร่วมกับอาการ อาการแสดงที่เข้าได้

      - Dengue NS1 ตรวจในผู้ป่วยที่คิดถึงโรคติดเชื้อเดงกี่ ตรวจในผู้ป่วยที่ยังมีไข้ โดยพบว่าสามารถมี cross-reactivity ในผู้ติดเชื้อ Zika virus ได้

        * ไม่ควรตรวจ dengue NS1 ในผู้ที่มีอาการนานกว่า 7 วันหรือไม่มีไข้แล้ว

      - Dengue RT-PCR ตรวจในผู้ป่วยที่คิดถึงโรคติดเชื้อเดงกี่ โดยตรวจในผู้ป่วยที่มีไข้ 1-5 วัน แต่ไม่แนะนำให้ตรวจโดยทั่วไป แนะนำในกรณีที่อาการและอาการแสดงไม่ตรงไปตรงมา หรืออาการที่ไม่ได้พบบ่อยและยังหาสาเหตุไม่ได้ เช่น encephalitis และผล dengue NS1 ให้ผลลบ

        * ไม่ควรตรวจ dengue RT-PCR ในผู้ป่วยที่มีอาการนานกว่า 7 วันหรือไม่มีไข้แล้ว 

        * ในผู้ป่วยที่ผล dengue NS1 และ/หรือ dengue IgM เป็นบวก ร่วมกับมีอาการ อาการแสดงที่เข้าได้ ไม่จำเป็นต้องตรวจ dengue RT-PCR เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

      - Dengue IgM ตรวจในผู้ป่วยที่คิดถึงโรคติดเชื้อเดงกี่ โดยตรวจที่เวลา >5 วันของการมีไข้ อย่างไรก็ตามสามารถมี cross-reactivity กับการติดเชื้อในกลุ่ม flavivirus  อื่นๆ ได้

        * ไม่ควรตรวจ dengue IgM ที่ <5 วันของการมีไข้ เนื่องจากผลตรวจอาจยังเป็นลบได้สูง

      - ในผู้ป่วยที่คิดถึงโรคติดเชื้อเดงกี่ให้ตรวจ CBC ทุกวันหลังวันที่ 3 ของไข้ จนกระทั่งไข้ลงดี และอาการดีขึ้น

      - ในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น dengue hemorrhagic fever และเริ่มไข้ลงให้ตรวจ hematocrit หรือ POC-hemoglobin ทุก 4-6 ชั่วโมง