prdmsc@dmsc.mail.go.th  0-2589-9850 
<< ย้อนกลับ

Tuberculosis (TB)

การตรวจเพื่อการคัดกรอง

      - ตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคด้วย chest X-ray

      - ตรวจคัดกรองการติดเชื้อ M. tuberculosis ในผู้สัมผัสวัณโรคผู้ใหญ่ แนะนำให้คัดกรองด้วย chest X-ray ถ้าผิดปกติเข้าได้กับวัณโรคหรือมีอาการสงสัยวัณโรคร่วมด้วยจึงส่งตรวจเสมหะ

      - ตรวจคัดกรองการติดเชื้อ M. tuberculosis ในเด็กที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค

         1. ในเด็กอายุ 0-5 ปี ให้คัดกรองด้วย chest X-ray 

         2. ในเด็กอายุมากกว่า 5 ปี ให้คัดกรองด้วย chest X-ray และ PPD skin test (หรือ IGRA)

          * ไม่ใช้ IGRA ในการคัดกรองในเด็กที่อายุ < 2 ปี

 

การตรวจเพื่อการวินิจฉัย

วัณโรคปอด

      - เก็บเสมหะตรวจ AFB smear และ culture for mycobacteria 

      - ผล AFB smear negative ส่งตรวจอณูชีววิทยา (Xpert MTB/RIF หรือ TB-LAMP) เพื่อวินิจฉัยวัณโรค

      - ผล AFB smear positive ส่งตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นวัณโรคและวินิจฉัยดื้อยาโดยการตรวจเสมหะด้วยวิธีอณูชีววิทยาวิธีใดวิธีหนึ่ง (FL-molecular testing: Xpert       MTB/RIF, LPA และ RT-PCR )

      - ในกรณีที่เป็นเด็กและไม่สามารถเก็บเสมหะได้ ให้ส่งน้ำในกระเพาะ (gastric aspirate) แทน โดยเก็บในตอนเช้า เป็นเวลา 3 วัน โดยส่ง culture for mycobacteria      และส่ง Xpert MTB/RIF 1 ครั้ง

      - ในกรณีวินิจฉัยวัณโรคแล้ว ควรตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและในผู้ใหญ่ให้คัดกรองภาวะเบาหวานด้วย

 

การตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา                

      - เก็บเสมหะตรวจ AFB smear หลังเริ่มการรักษาเดือนที่ 2, 5 และ 6 ถ้าผลตรวจตอนก่อนเริ่มรักษาเป็นบวก

      - ตรวจทางอณูชีววิทยาเพื่อค้นหาการดื้อยา ควรทำในกรณี

      - ถ้า AFB บวกเมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 2 กรณีไม่มีผล drug susceptibility test (DST) ก่อนเริ่มรักษา

      - ถ้า AFB บวก เมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 5 

      - การเพาะเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อดื้อยา ถ้า AFB บวกเมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 2 หรือ เดือนที่ 5