prdmsc@dmsc.mail.go.th  0-2589-9850 
<< ย้อนกลับ

        การตรวจเพื่อการคัดกรอง

แนะนำการตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง ดังนี้

• โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ได้รับการวินิจฉัยมานานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป 

• โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่เริ่มแรกวินิจฉัย

• โรคความดันเลือดสูง

• อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

• โรคแพ้ภูมิตนเอง (autoimmune diseases) ที่อาจก่อให้เกิดไตผิดปกติ

• โรคติดเชื้อในระบบต่างๆ (systemic infection) ที่อาจก่อให้เกิดโรคไต

• โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease)

• ประวัติติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบนซ้ำหลายครั้ง

• โรคเกาต์ หรือมีระดับกรดยูริคในเลือดสูง

• ได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือสารที่มีผลกระทบต่อไต (nephrotoxic agents) เป็นประจำ

• ประวัติโรคไตในครอบครัว โดยเฉพาะรายที่มีประวัติโรคไตวายหลายรายในครอบครัว, โรคถุงน้ำในไต, Alport syndrome

• ประวัติโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือโรคที่ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ

• มีมวลเนื้อไต (renal mass) ลดลงหรือมีไตข้างเดียวทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นในภายหลัง

- ตรวจค่า Creatinine อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินอัตราการกรองไต โดยคำนวณด้วยสมการ CKD-EPI (Chronic Kidney Disease Epidemiology Collaboration)

- ตรวจ Urine analysis ปีละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินการรั่วของแอลบูมินในปัสสาวะ เม็ดเลือดแดง หรือตะกอนผิดปกติอื่นๆ

ในผู้ป่วยเบาหวานและ/ หรือความดันโลหิตสูงที่ตรวจไม่พบโปรตีนรั่วทางปัสสาวะด้วยแถบสีจุ่ม ควรพิจารณาตรวจเพิ่มด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้ 

- ตรวจ urine albumin creatinine ratio (UACR)

       * ไม่แนะนำให้ส่งตรวจทางรังสี (plain KUB) และ/หรือการตรวจอัลตราซาวนด์ (ultrasonography of KUB) ในผู้ป่วยทุกราย ควรทำตามข้อบ่งชี้ในแต่ละราย

- ตรวจปัสสาวะแบบจุ่มด้วยแถบสีสำหรับ albumin/creatinine ratio (semiquantitative)

ในรายที่พบภาวะ albuminuria ≥ 30 mg/g creatinine ควรส่งตรวจซ้ำอีก 1-2 ครั้งใน 3 เดือน หากพบ ≥ 2 ครั้ง วินิจฉัยว่ามีภาวะโรคไตเรื้อรัง