การตรวจเพื่อการวินิจฉัย
การตรวจเพื่อการวินิจฉัย โดยทั่วไป
- Venous plasma glucose (fasting หรือ random)
- Oral Glucose Tolerance test (OGTT)
(ในการตรวจ OGTT ผู้ป่วยควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตอย่างน้อย 150 g/day เป็นระยะเวลา 3 วันก่อนการตรวจ (แนะนำให้รับประทานอาหารปกติ ไม่งดหรือลดแป้ง เพื่อป้องกันผลบวกลวง)
- HbA1c
(การวินิจฉัย และติดตามผลการรักษา โรคเบาหวานโดยใช้ HbA1c ต้องเป็นวิธีที่บริษัทผู้ผลิตได้รับการรับรองจาก National Glycohemoglobin Standardization Program (NGSP) และควรเข้าร่วมการทดสอบความชำนาญกับ PT provider ที่ดำเนินการสอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/ IEC 17043 และควรเปรียบเทียบค่ากับ target value (accuracy-based PT program) การใช้ HbA1c ควรคำนึงถึง racial และ ethnicity ด้วย Hemoglobin variants บางชนิด อาจมีผลรบกวนต่อค่า HbA1c)
• เฉพาะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เพิ่ม
- Antibody: anti-GAD , IA-2, ZnT8
(การตรวจ Antibody ไม่จำเป็นต้องตรวจครบทั้ง 3 ตัว ถ้าผลตรวจ Anti-GAD negative ให้ส่งตรวจ IA-2 และ ZnT8 เพิ่มเติม)
- C-peptide ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจ Antibody
(การตรวจ C-peptide ให้ตรวจ 3 เดือนหลังเกิด DKA)
- การทำงานของต่อมธัยรอยด์ TSH, FT4
• ผู้ที่วินิจฉัยโรคเบาหวานก่อนอายุ 30 ปี กรณีที่ยังไม่สามารถระบุการวินิจฉัยที่แน่นอน อาศัยการตรวจเพิ่มเติม
* ไม่ส่งตรวจ C-Peptide และ Anti-GAD หากลักษณะทางคลินิกชัดเจน
* ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานก่อนอายุ 30 ปี ถ้ามีลักษณะของเบาหวานชนิดที่ 2 ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องตรวจ C-peptide
- C-peptide
- Molecular genetic study เพื่อวินิฉัยโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนเดี่ยว ได้แก่ neonatal diabetes, maturity-onset diabetes of the young (MODY) แนะนำให้ตรวจ
ในกรณีที่มีลักษณะครบ 3 ข้อดังนี้
1. วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานก่อนอายุ 30 ปี
2. มี first degree relative อย่างน้อย 2 generation เป็นโรคเบาหวาน
3. ไม่มีลักษณะทางคลินิกของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 อย่างชัดเจน
* เบาหวานชนิดที่ 2 ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องตรวจ C-peptide